วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนแปลงภาวะความเป็นเมืองที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากร



การกระทำใด ๆ ของประชากรต่อสิ่งแวดล้อมย่อมมีผลเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในระบบด้วย และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชากรด้วย ดังนี้

1. ทำให้เกิดความอดอยากและขาดแคลน การเพิ่มจำนวนประชากรย่อมทำให้เกิดความต้องการปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นด้วย การขยายที่ดินเพื่อการเพาะปลูก การทำเกษตรกรรม การสร้างที่อยู่อาศัย การตัดไม้ทำลายป่า การขุดค้นแร่ธาตุมาใช้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนทรัพยากรลดลง สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ระบบนิเวศขาดความสมดุล ก่อให้เกิดความอดอยากในหมู่ประชากรและการขาดแคลน
ทรัพยากรธรรมชาติ

2. ทำให้เกิดความยากจน ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน เป็นผลเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนของประชากร ทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นเพื่อการดำรงชีวิต ประกอบกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ขาดประสิทธิภาพและขาดการรู้จักแบ่งปันของมนุษย์ ทำให้ปัญหาอื่น ๆ ตามมา ความยากจนจึงเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ ของสังคมที่ไม่รู้หนังสือ ปัญหาสุขภาพอนามัย ปัญหาสลัม ปัญหาแรงงานเด็ก ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี การอพยพย้ายถิ่น ความหิวโหย การว่างงาน เป็นต้น

3. ทำให้เกิดปัญหาด้านมลพิษและมลภาวะ การที่มีประชากรเพิ่มมากขึ้นก่อให้เกิดชุมชนหรือเมือง
มากขึ้น สิ่งจำเป็นตามมาก็คือ ถนน ไฟฟ้า ประปา โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ ดังนั้นรัฐจะต้องจัดบริการด้าน
สาธารณูปโภคเหล่านี้ให้ทันกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ปัญหาที่จะตามมาอีกก็คือ ทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลมากขึ้น ปัญหาการจราจรหนาแน่นและติดขัด นำไปสู่ปัญหามลพิษและมลภาวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2555 เวลา 10:18

    สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน คุณภาพของคนก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

    ตอบลบ