ประชากรมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นซึ่งในอดีตปัญหาสิ่งแวดล้อมยังไม่เกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากประชากรในยุคนั้น ๆ มีชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงสามารถปรับสมดุลของตัวเองได้ แต่เมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมขยายตัวมากขึ้น ประชากรขวนขวายหาความสุขสบายมากขึ้น มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น และเกือบทุกประเทศต่างก็มุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจกันอย่างจริงจัง ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงปรากฏให้เห็น
การเพิ่มจำนวนประชากรเพียงอย่างเดียว มิใช่เป็นตัวการที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วแต่พฤติกรรมการกระทำของมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่างหากที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและสภาพแวดล้อมแปรปรวนไป
การเพิ่มจำนวนประชากรเพียงอย่างเดียว มิใช่เป็นตัวการที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วแต่พฤติกรรมการกระทำของมนุษย์เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นต่างหากที่เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและสภาพแวดล้อมแปรปรวนไป
จุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนาประชากรของประเทศ คือ เพื่อให้ประชากรได้รับสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน ประชากรจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมินความต้องการของสังคมในเรื่องการจ้างงาน การศึกษา การบริการด้านสุขภาพและที่อยู่อาศัย ความต้องการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจสัมพันธ์กับจำนวนประชากรการกระจายความหนาแน่นของประชากรก็มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร
เมื่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพถูกทำลายหรือถูกใช้ไป ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การศึกษา การจ้างงานและรายได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เมื่อเกิดมลพิษทางน้ำย่อมเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้น โครงสร้างประชากรและสิ่งแวดล้อมจะต้องกล่าวถึงบทบาทของรัฐในการดำเนินการจัดใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ถูกต้องและรอบคอบไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาประเทศรวมทั้งนโยบายของชุมชน และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในขอบเขตที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมไปเร็วกว่านี้ หรือเพื่อให้เกิดปัญหากับสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด
จากโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประชากรและสิ่งแวดล้อมจะเห็นได้ว่า มีตัวแปรพื้นฐานด้านประชากร3 ตัว คือ การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น ถ้ามองในภาพรวมตัวแปรดังกล่าวส่งผลต่อการบริโภคและบริการต่าง ๆ ซึ่งความต้องการดังกล่าวจัดหาได้ 2 ทาง คือ จากธรรมชาติ และการผลิตทางเศรษฐกิจซึ่งทั้ง 2 วิธี ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น